หน้าหลัก แจ้งเหตุรู้สึกสั่นไหว ติดต่อกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2568
  

การจัดการความรู้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS เพื่อสังเกตความแปรปรวนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

                วันที่ 16 มีนาคม 2567 กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวได้จัดกิจกรรมการจัดการความรู้เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS เพื่อสังเกตความแปรปรวนในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (GNSS Observation of Ionospheric Disturbance) ณ กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว โดยได้รับเกียรติจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ เคนพันค้อ และคณะดำเนินงาน SSS LAB KMITL เป็นวิทยากรในการบรรยายครั้งนี้ ซึ่งได้บรรยายในหัวข้อการติดตั้งและใช้งาน BG2s GNSS Ionospheric Monitor, Data Logger, and RxTools, RINEX version 2.11 and 3.00 up, เทคนิคการจัดการข้อมูล Raw data, วิธีการหาค่าจำนวนอิเล็กตรอนรวม TEC (Total Electron Content), การใช้โปรแกรมหาค่าและแสดงผลค่า TEC ในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์, การประยุกต์ข้อมูลสัญญาณดาวเทียม GNSS ในงานต่างๆ เช่น งานด้านแผ่นดินไหว ด้านการหาค่าเวลาหน่วงในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ด้านการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์มหุ่นยนต์ทุนต่ำนำทางด้วยระบบดาวเทียม GNSS สำหรับการแข่งขัน ด้านการหาค่าความชื้นสัมพัทธ์ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณอิเล็กตรอนรวมในชั้นบรรยากาศ ไอโอโนสเฟียร์และค่าเวลาหน่วงของระบบดาวเทียมนำทางจีพีเอส ด้านความสัมพันธ์ระหว่างสนามแม่เหล็กโลกและการเปลี่ยนแปลงของจำนวนอิเล็กตรอนรวมในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ ด้านการศึกษาค่าอิเล็กตรอนรวมในชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์และค่าเวลาหน่วงของสัญญาณดาวเทียม GNSS จากชั้นบรรยากาศไอโอโนส์เฟียร, การผลิตน้ำดื่มจากบรรยากาศในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ด้าน The Low-cost Robotics Platform with BeiDou Satellites และได้บรรยายการติดตั้งโปรแกรมเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS
กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
16 มีนาคม 2567