แผนผังโครงสร้างและบุคลากรประจำกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
ผู้อำนวยการกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว |
||
---|---|---|
|
||
ฝ่ายบริหารงานทั่วไป |
||
---|---|---|
|
||
ส่วนวิเคราะห์และพัฒนาระบบตรวจวัดแผ่นดินไหว |
||
---|---|---|
|
||
ส่วนเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิ |
||
---|---|---|
|
||
ส่วนประมวลผลข้อมูลและสถิติแผ่นดินไหว |
||
---|---|---|
|
||
ส่วนวิจัยและพัฒนาแผ่นดินไหวและสึนามิ |
||
---|---|---|
|
||
กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวมีผู้อำนวยการกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวเป็นผู้ดูแล โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
1. จัดทำแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการรวมทั้งเร่งรัดติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในด้านแผ่นดินไหวและสึนามิของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ
2. ตรวจ เฝ้าระวัง ติดตามและรายงานการเกิดแผ่นดินไหวและสึนามิ
3. วิเคราะห์ จำแนกคลื่นแผ่นดินไหวและดำเนินการเกี่ยวกับการคำนวณหาตำแหน่งการเกิด ขนาดและเวลาเกิดตลอดจนออกประกาศแผ่นดินไหวที่มีผลกระทบต่อประชาชนทันที
4. ประสานกับศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันและบรรเทาผลของแผ่นดินไหวอย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
5. ควบคุมดูแลและบำรุงรักษาระบบตรวจแผ่นดินไหวและการปฏิบัติงานของสถานีเฝ้าระวังแผ่นดินไหว
6. ศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาวิชาการด้านแผ่นดินไหว สึนามิและภูมิฟิสิกส์
7. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการแผ่นดินไหวแห่งชาติ
8. ตรวจสอบ รวบรวม จัดทำรายงาน ให้บริการและแลกเปลี่ยนข้อมูลแผ่นดินไหวและสึนามิกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย
หน่วยงานหลักภายใต้การกำกับดูแลของกองเฝ้าระวังแผ่นดินไหวประกอบด้วย ฝ่ายบริหารงานทั่วไป ส่วนเฝ้าระวังและติดตามแผ่นดินไหวและสึนามิ ส่วนประมวลผลข้อมูลและสถิติแผ่นดินไหว ส่วนวิจัยและพัฒนาแผ่นดินไหวแลสึนามิ ซึ่งในแต่ละส่วนจะประกอบด้วยบุคลากรและภาระกิจมีดังแสดงในแผนผัง